วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัย


thumb image

งานวิจัย ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
Effects of Traditional Games Training on Early Childhood Development

นางสาวฟาลาตี หมาดเต๊ะ

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประชา ฤาชุตกุล
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมรองศาสตราจารย์ ดร. ชิดชนก เชิงเชาว์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง 
ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน



บทนำ

ในปัจจุบันพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัย 3-5 ปี พัฒนาการ ทางกายจะปรากฏในรูปของความสามารถ ในรูปของอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ชัดเจนขึ้น ทั้ง ความสามารถในการท างานประสานกันของกล้ามเนื้อใหญ่ และที่ส าคัญการท างานของกล้ามเนื้อเล็ก การท างานประสานกันของกล้ามเนื้อใหญ่คือ การพัฒนาความสามารถในการบังคับกล้ามเนื้อที่ใช้ใน การเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การเตะลูกบอล เป็นต้น แต่ ความส าคัญของกล้ามเนื้อเล็ก คือ การพัฒนาความสามารถในการบังคับกล้ามเนื้อเล็กส่วนต่างๆ ใน การประสานกัน เช่น ตากับมือ ได้แก่ การวาดภาพ การลากเส้น การตัดกระดาษ การร้อยลูกปัด การ ลากเส้นตามรอยประ  
การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ท าให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดและ ท าให้เด็กเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และเป็นกระบวนการพัฒนาการในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านร่างกายเป็นการเสริมสร้างพัฒนากล้ามเนื้อแข็งแรง คล่องแคล่วว่องไวด้านอารมณ์และ สังคม การเล่นสอนให้เด็กรู้จักเหตุผล ปรับตัวให้เข้ากับสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักกติกาในสังคม รู้จักแบ่งปันท าให้เด็กมสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น



วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย



ขอบเขตด้านตัวแปร

ตัวแปรต้น (independent variable) คือ การฝึกการละเล่นพื้นบ้าน 
ตัวแปรตาม (dependent variable) ได้แก่สมรรถภาพทางกลไกประกอบด้วย 
                                (1) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle strength) 
                                (2) พลังของกล้ามเนื้อแขนและขา (Arm and Leg muscle power) 
                                (3) ความอดทน (Muscle endurance) 
                                (4) ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) 
                                (5) ความอ่อนตัว (Flexibility) 
                                (6) ความเร็ว (Speed)



ขอบเขตด้านระยะเวลา

 ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันโดยการฝึกในวันจันทร์ วัน พุธและวันศุกร์
เวลา 14.30-15.30 น.



สรุปผลการวิจัย

ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยชาย ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน พบว่าเด็กปฐมวัยชายมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้านการนั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที การยืนกระโดดไกล การวิ่งเก็บของ 3จุด การขว้างลูกบอลไกล อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ยกเว้น เรื่องของการวิ่งเร็ว 20 เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีส่วนภายหลังเด็กปฐมวัยชายได้รับการฝึกกิจกรรม การละเล่นพื้นบ้านเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยชายมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้าน การนั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที การวิ่งเร็ว 20 เมตรการยืนกระโดดไกล การวิ่งเก็บของ 3 จุด ดีขึ้น คืออยู่ในเกณฑ์ระดับดี ยกเว้นการขว้างลูกบอลไกลซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับ ปานกลาง แต่หากวิเคราะห์ถึงค่าเฉลี่ยจะพบว่าทั้งสองรายการ คือ การวิ่งเร็ว 20 เมตร และการขว้างลูกบอลไกล เด็กปฐมวัยชายมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แม้จะมีเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพ ทางกลไกอยู่ในระดับเดิม โดยค่าเฉลี่ยการวิ่งเร็ว 20 เมตร ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 ภายหลังการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนการขว้างลูกบอลไกล ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ภายหลัง การฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.95 และหากวิเคราะห์ตามความถี่ของการ ทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยชาย จะพบว่าการขว้างลูกบอลไกลมีเด็กปฐมวัยชาย ที่ การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก อยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างต่ ามากกว่าในระดับอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 46.66 ซึ่งมีจ านวนความถี่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์อื่นๆ


ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหญิง ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน พบว่า เด็กปฐมวัยหญิงมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้านการนั่งงอตัวไปข้างหน้า การยืนกระโดดไกล อยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างต่ า การลุก-นั่ง 30 วินาที การวิ่งเก็บของ 3จุด อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง การวิ่งเร็ว 20 เมตร และการขว้างลูกบอลไกลอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ส่วนภายหลังเด็กปฐมวัยหญิงได้รับ การฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยหญิงมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้านการนั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที การยืนกระโดดไกล การวิ่งเก็บของ 3จุด ดีขึ้น คืออยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ยกเว้นการขว้างลูกบอลไกลซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี และการวิ่งเร็ว 20 เมตร อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก แต่หากวิเคราะห์ถึงค่าเฉลี่ยจะพบว่าทั้งสองรายการ คือการขว้างลูกบอลไกล และการวิ่งเร็ว 20 เมตร เด็กปฐมวัยหญิงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยค่าเฉลี่ย การขว้างลูกบอไกล ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ภายหลังการฝึก กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.37 ส่วนการวิ่งเร็ว 20 เมตร ก่อนการฝึกกิจกรรม การละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 ภายหลังการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.71 และหากวิเคราะห์ตามความถี่ของการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยหญิง จะพบว่าการวิ่งเร็ว 20 เมตร มีเด็กปฐมวัยหญิง ที่การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมาก มากกว่าในระดับอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งมีจ านวนความถี่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ เกณฑ์อื่นๆ




ข้อเสนอแนะในการวิจัย

จากการศึกษาผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
ผู้วิจัยมี ข้อเสนอแนะดังนี้ 

1. ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 
             1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ควรจะนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไปพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเด็ก ปฐมวัย เพิ่มเติมในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง 
             1.2 ครูควรอธิบายจุดประสงค์ของการเล่นและวิธีการเล่นที่ถูกต้องให้เด็กปฐมวัยเข้าใจอย่าง ชัดเจนก่อนการเล่น 
             1.3 ครูต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย ความปลอดภัยในการเล่น และสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น