วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 3

รูปภาพที่เกี่ยวข้องผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวัสดีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563   เวลา 08:30 -12:30 น.


คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา เเละตัวเด็ก เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ คือคณิตศาสตร์เบื้องต้น


การทำงานของสมอง ต้องมีการซึบซับรับข้อมูล โดยผ่านการกระทำกับวัตถุ  ↴
                               จึงเกิดการเรียนรู้   ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย

   กิจกรรมที่เด็กทำเด็กต้องเลือกเเละตัดสิ้นใจ ทำอย่างมีความสุข


         ด้านต่างๆที่ทำให้เด็กมีความเเตกต่างจากผู้อื่น
-ด้านการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว                                                                                          -ด้านร่างกายของตัวเองเด็ก
-ด้านพื้นฐานครอบครัว
-ด้านค่านิยมวัฒนธรรมของสังคม


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์

บรูนเนอร์ ( Bruner ) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรูนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
                 ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การจัดโครงสร้างความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
            -ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) 
            -ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) 
            -ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) 
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

               การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
  • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
  • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
  • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
  • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


              กิจกรรมในห้องเรียน

   อาจารย์ได้ให้กระดาษ 1 เเผ่น เเละให้ทุกคน นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ผ่านกระดาษ ในรูปเเบบการพับ การฉีก อื่นๆ อาจารย์ได้อธิบายผ่านสิ่งที่เราประดิษฐ์ คณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก ไม่ว่าจะสอน พับ ก็ได้เรียนรู้ การวัด ขนาด รูปทรง จำนวน เเละอีกมากมาย


               คำศัพท์

       1. Activity  กิจกรรม
2. Experience ประสบการณ์
3. Culture วัฒนธรรม
4. Motivation เเรงจูงใจ
5. Promote ส่งเสริม


การประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ได้พูดเเละคิดคำตอบ
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน เเละให้ทุกคนช่วยกันคิด


Photobucket



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น