วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 3

รูปภาพที่เกี่ยวข้องผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวัสดีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563   เวลา 08:30 -12:30 น.


คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา เเละตัวเด็ก เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ คือคณิตศาสตร์เบื้องต้น


การทำงานของสมอง ต้องมีการซึบซับรับข้อมูล โดยผ่านการกระทำกับวัตถุ  ↴
                               จึงเกิดการเรียนรู้   ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย

   กิจกรรมที่เด็กทำเด็กต้องเลือกเเละตัดสิ้นใจ ทำอย่างมีความสุข


         ด้านต่างๆที่ทำให้เด็กมีความเเตกต่างจากผู้อื่น
-ด้านการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว                                                                                          -ด้านร่างกายของตัวเองเด็ก
-ด้านพื้นฐานครอบครัว
-ด้านค่านิยมวัฒนธรรมของสังคม


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูนเนอร์

บรูนเนอร์ ( Bruner ) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรูนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
                 ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การจัดโครงสร้างความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
            -ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) 
            -ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) 
            -ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) 
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

               การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
  • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
  • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
  • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
  • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


              กิจกรรมในห้องเรียน

   อาจารย์ได้ให้กระดาษ 1 เเผ่น เเละให้ทุกคน นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ผ่านกระดาษ ในรูปเเบบการพับ การฉีก อื่นๆ อาจารย์ได้อธิบายผ่านสิ่งที่เราประดิษฐ์ คณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก ไม่ว่าจะสอน พับ ก็ได้เรียนรู้ การวัด ขนาด รูปทรง จำนวน เเละอีกมากมาย


               คำศัพท์

       1. Activity  กิจกรรม
2. Experience ประสบการณ์
3. Culture วัฒนธรรม
4. Motivation เเรงจูงใจ
5. Promote ส่งเสริม


การประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ได้พูดเเละคิดคำตอบ
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน เเละให้ทุกคนช่วยกันคิด


Photobucket



บันทึกครั้งที่ 4


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563   เวลา 08:30 -12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

              เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

      -นิทาน
      -เพลง
      -เกม
      -คำคล้องจอง
      -ปริศนาคำทาย
      -บทบาทสมมุติ

              สาระเเละมาตราฐานการเรียนรู้

     สาระที่ 1  จำนวนเเละการดำเนินการ
     สาระที่ 2  การวัด
     สาระที่ 3  เรขาคณิต
     สาระที่ 4  พีชคณิต
     สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูล เเละความน่าจะเป็น
     สาระที่ 6  ทักษะ เเละกระบวนการทางคณิตศาสตร์

   รายละเอียดดังนี้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นให้เด็กก่อน แล้วจึงจะจัดอันดับ
การรวมตัวเป็นการนับจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น


สาระที่ 2 การวัด การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
เช่น การใช้นิ้ว มือ ฝามือ ศอก เชือก
การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน เช่น มือ การทำคาน หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียนเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ


สาระที่ 3 เรขาคณิต ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ระหว่า ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่บอกตำแหน่ง ทิศทาง
การจำแนกทรงของวงกลม ทรงสี่เหลี่ยม กรวย จะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง

 
สาระที่ 4 พีชคณิต แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ


สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ


สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิต
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

      เพลงที่ใช้สอนคณิตศาสตร์ 

สองมือเราชู้ตรง   เเล้วเอาลงมา เสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า    เเล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือเเปะ
เเขนขวาอยู่ไหน เเล้วหันตัวไปทางนั้นเเหละ 


     คำศัพท์
1. Skills ทักษะ
2. Learning สาระการเรียนรู้
3. Between ระหว่าง
4.Measuring การวัด 5.Geometry เรขาคณิต


การประเมิน
                 ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ได้พูดเเละคิดคำตอบ
                 ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน
                 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน เเละใจเย็นมากๆในการสอน



Photobucket

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัย


thumb image

งานวิจัย ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
Effects of Traditional Games Training on Early Childhood Development

นางสาวฟาลาตี หมาดเต๊ะ

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประชา ฤาชุตกุล
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมรองศาสตราจารย์ ดร. ชิดชนก เชิงเชาว์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง 
ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน



บทนำ

ในปัจจุบันพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัย 3-5 ปี พัฒนาการ ทางกายจะปรากฏในรูปของความสามารถ ในรูปของอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ชัดเจนขึ้น ทั้ง ความสามารถในการท างานประสานกันของกล้ามเนื้อใหญ่ และที่ส าคัญการท างานของกล้ามเนื้อเล็ก การท างานประสานกันของกล้ามเนื้อใหญ่คือ การพัฒนาความสามารถในการบังคับกล้ามเนื้อที่ใช้ใน การเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การเตะลูกบอล เป็นต้น แต่ ความส าคัญของกล้ามเนื้อเล็ก คือ การพัฒนาความสามารถในการบังคับกล้ามเนื้อเล็กส่วนต่างๆ ใน การประสานกัน เช่น ตากับมือ ได้แก่ การวาดภาพ การลากเส้น การตัดกระดาษ การร้อยลูกปัด การ ลากเส้นตามรอยประ  
การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ท าให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดและ ท าให้เด็กเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และเป็นกระบวนการพัฒนาการในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านร่างกายเป็นการเสริมสร้างพัฒนากล้ามเนื้อแข็งแรง คล่องแคล่วว่องไวด้านอารมณ์และ สังคม การเล่นสอนให้เด็กรู้จักเหตุผล ปรับตัวให้เข้ากับสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักกติกาในสังคม รู้จักแบ่งปันท าให้เด็กมสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น



วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย



ขอบเขตด้านตัวแปร

ตัวแปรต้น (independent variable) คือ การฝึกการละเล่นพื้นบ้าน 
ตัวแปรตาม (dependent variable) ได้แก่สมรรถภาพทางกลไกประกอบด้วย 
                                (1) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle strength) 
                                (2) พลังของกล้ามเนื้อแขนและขา (Arm and Leg muscle power) 
                                (3) ความอดทน (Muscle endurance) 
                                (4) ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) 
                                (5) ความอ่อนตัว (Flexibility) 
                                (6) ความเร็ว (Speed)



ขอบเขตด้านระยะเวลา

 ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันโดยการฝึกในวันจันทร์ วัน พุธและวันศุกร์
เวลา 14.30-15.30 น.



สรุปผลการวิจัย

ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยชาย ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน พบว่าเด็กปฐมวัยชายมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้านการนั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที การยืนกระโดดไกล การวิ่งเก็บของ 3จุด การขว้างลูกบอลไกล อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ยกเว้น เรื่องของการวิ่งเร็ว 20 เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีส่วนภายหลังเด็กปฐมวัยชายได้รับการฝึกกิจกรรม การละเล่นพื้นบ้านเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยชายมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้าน การนั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที การวิ่งเร็ว 20 เมตรการยืนกระโดดไกล การวิ่งเก็บของ 3 จุด ดีขึ้น คืออยู่ในเกณฑ์ระดับดี ยกเว้นการขว้างลูกบอลไกลซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับ ปานกลาง แต่หากวิเคราะห์ถึงค่าเฉลี่ยจะพบว่าทั้งสองรายการ คือ การวิ่งเร็ว 20 เมตร และการขว้างลูกบอลไกล เด็กปฐมวัยชายมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แม้จะมีเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพ ทางกลไกอยู่ในระดับเดิม โดยค่าเฉลี่ยการวิ่งเร็ว 20 เมตร ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 ภายหลังการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนการขว้างลูกบอลไกล ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ภายหลัง การฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.95 และหากวิเคราะห์ตามความถี่ของการ ทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยชาย จะพบว่าการขว้างลูกบอลไกลมีเด็กปฐมวัยชาย ที่ การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก อยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างต่ ามากกว่าในระดับอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 46.66 ซึ่งมีจ านวนความถี่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์อื่นๆ


ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหญิง ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน พบว่า เด็กปฐมวัยหญิงมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้านการนั่งงอตัวไปข้างหน้า การยืนกระโดดไกล อยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างต่ า การลุก-นั่ง 30 วินาที การวิ่งเก็บของ 3จุด อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง การวิ่งเร็ว 20 เมตร และการขว้างลูกบอลไกลอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ส่วนภายหลังเด็กปฐมวัยหญิงได้รับ การฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยหญิงมีสมรรถภาพทางกลไก ในด้านการนั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที การยืนกระโดดไกล การวิ่งเก็บของ 3จุด ดีขึ้น คืออยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ยกเว้นการขว้างลูกบอลไกลซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี และการวิ่งเร็ว 20 เมตร อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก แต่หากวิเคราะห์ถึงค่าเฉลี่ยจะพบว่าทั้งสองรายการ คือการขว้างลูกบอลไกล และการวิ่งเร็ว 20 เมตร เด็กปฐมวัยหญิงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยค่าเฉลี่ย การขว้างลูกบอไกล ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ภายหลังการฝึก กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.37 ส่วนการวิ่งเร็ว 20 เมตร ก่อนการฝึกกิจกรรม การละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 ภายหลังการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.71 และหากวิเคราะห์ตามความถี่ของการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยหญิง จะพบว่าการวิ่งเร็ว 20 เมตร มีเด็กปฐมวัยหญิง ที่การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมาก มากกว่าในระดับอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งมีจ านวนความถี่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ เกณฑ์อื่นๆ




ข้อเสนอแนะในการวิจัย

จากการศึกษาผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
ผู้วิจัยมี ข้อเสนอแนะดังนี้ 

1. ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ 
             1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ควรจะนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไปพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเด็ก ปฐมวัย เพิ่มเติมในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง 
             1.2 ครูควรอธิบายจุดประสงค์ของการเล่นและวิธีการเล่นที่ถูกต้องให้เด็กปฐมวัยเข้าใจอย่าง ชัดเจนก่อนการเล่น 
             1.3 ครูต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย ความปลอดภัยในการเล่น และสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 2

รูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้อง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563   เวลา 08:30 -12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน
      - เด็กเเต่ละคนเเตกต่างกัน จากการอบรมเลี้ยงดู หรือเรียกรวมๆได้ว่า สิ่งเเวดล้อมนั้นเอง  

      - การเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม ทำให้ครู หรือผู้ปกครอง สามารถประเมินตัวเด็กได้

       
   พัฒนาการ
  • มีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับเเละพัฒนาการของตัวเด็กเอง 
  • เป็นความสามารถที่พัฒนาเเต่ละช่วงวัย
    การจัดประสบการณ์
  • คือการให้เด็กได้เรียนด้วยตัวเองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  ตา หู จมูก ลิ้น กาย เเละมีการเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง อย่างสนุกสนาน 

เด็กนำความรู้ออกไปใช้ = การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม = การเรียนรู้


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

         พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้น

3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้

4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่



   คำศัพท์
1. Recognition การรับรู้
2. Parenting การอบรมเลี้ยงดู
3. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์
4. Absorption การซึมซับ
5. Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม



การประเมิน
                 ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ได้พูดเเละคิดคำตอบ
                 ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน
                 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน เเละ ละเอียด




Photobucket


วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 1


รูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้องรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563   เวลา 08:30 -12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

                     วันนี้เป็นชั่วโมงเเรกในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
จึงได้พูดรายละเอียดคร่าวคร่าวที่ต้องเรียนเเละต้องทำ รวมไปถึงได้มอบหมายงานไว้ให้ทำดังนี้
           

                     -งานวิจัย ที่สอดคล้องกับรายวิชานี้ หรือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

                     -บทความ ที่สอดคล้องกับรายวิชานี้ หรือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 


                    -โทรทัศน์ครู ที่สอดคล้องกับรายวิชานี้ หรือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์


โดยทั้ง 3 หัวข้อนั้น จะต้องทำส่งใน blogger ของตัวเอง โดยงานทั้ง 3 หัวข้อต้องไม่ซ้ำกัน



คำศัพท์ 
                1. conclude สรุป
2. learning การเรียนรู้
3. research วิจัย
4. rate ประเมิน
5. thinking การคิด



การประเมิน
                 ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ถามโต้ตอบกับอาจารย์ 
                 ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาค่อนข้างช้า เนื่องจาก ต้องไปเพิ่มถอนวิชาเรียน
                 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน เเละ ละเอียด


Photobucket